กีฬากรีฑา มีกี่ประเภทและมีการแข่งขันอย่างไรบ้าง ?
-
ประเภทของการแข่งขันกรีฑา
กรีฑาถือเป็นกีฬาพื้นฐานในการสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกาย และเป็นกีฬาหลักที่นิยมเล่นและแข่งขันทั้งในและระหว่างประเทศ จากรายละเอียดกติกากรีฑาของสหพันธ์กรีฑาสมัครเล่นนานาชาติ สามารถแบ่งประเภทของกรีฑา ได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
-
กรีฑาประเภทลู่ (Track Events)
-
กรีฑาประเภทลาน (Field Events)
-
กรีฑาประเภทเดิน (Walking Events)
-
กรีฑาประเภทถนน (Road Races)
-
กรีฑาประเภทวิ่งข้ามทุ่ง (Cross Country Races)
-
กรีฑาประเภทลู่ (Track Events)
กรีฑาประเภทลู่ ประกอบด้วยการวิ่งในลู่วิ่ง ซึ่งการวิ่งระยะสั้น การวิ่งผลัด และการวิ่งข้ามรั้วแต่ละรายการมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป โดยการวิ่งระยะสั้นให้ความตื่นเต้น สนุกสนาน
การวิ่งผลัดแสดงให้เห็นถึงการประสานงานกันเป็นทีม การวิ่งข้ามรั้วเป็นความสัมพันธ์ระหว่างการวิ่งและการกระโดดแต่การที่บุคคลหนึ่งจะทำการแข่งขัน กรีฑาประเภทลู่ได้ จำเป็นต้องมีทักษะเฉพาะตัวเบื้องต้น ต้องใช้ความอดทนในการฝึกซ้อมที่ถูกวิธี และสิ่งสำคัญต้องมีใจรักในการวิ่งด้วย
กรีฑาประเภทลู่สามารถแบ่งการแข่งขันได้ ดังนี้
-
การวิ่งระยะสั้น ประกอบด้วยการวิ่งระยะทาง 60, 80, 100, 200 และ 400 เมตร
-
การวิ่งระยะกลาง ประกอบด้วยการวิ่งระยะทาง 800 เมตร 1,500 เมตรและ 3,000 เมตร
-
การวิ่งระยะไกล ประกอบด้วยการวิ่งระยะทางตั้งแต่ 5,000 เมตร ขึ้นไป
-
การวิ่งผลัด ประกอบด้วยการวิ่งผลัด 4 x 100 เมตร วิ่งผลัด 4 x 400 เมตร
-
การวิ่งข้ามรั้ว ประเภทหญิงระยะทาง 100 เมตร 400 เมตร ประเภทชายระยะทาง 110 เมตร 400 เมตร
2.กรีฑาประเภทลาน (Field Events)
กรีฑาประเภทลาน ประกอบด้วยการวิ่งกระโดดไกล การวิ่งกระโดดสูง การทุ่มน้ำหนัก การขว้างจักร และการพุ่งแหลน แต่ละประเภทต้องอาศัยทักษะที่แตกต่างกัน โดยการวิ่งกระโดดไกล ระบบการทำงานของร่างกายระหว่างประสาทและกล้ามเนื้อต้องมีความสัมพันธ์กัน
จะช่วยให้สามารถบังคับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างนิ่มนวลและถูกต้องตามจังหวะที่ต้องการ การวิ่งกระโดดสูงต้องรู้จักจังหวะการกระโดด การสปริงตัวขึ้น การลอยตัวในอากาศ และการลงสู่พื้นได้อย่างปลอดภัย การทุ่มลูกน้ำหนักต้องรู้จักการทรงตัว การกระโดดได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว
การใช้แรงส่งลูกน้ำหนักให้ไปไกลที่สุด การขว้างจักรต้องอาศัยการเหวี่ยงตัว และจังหวะที่ดีในการเหวี่ยงจักร รวมทั้งต้องมีความรวดเร็วว่องไว ประสาทและทักษะในการเคลื่อนไหวดี การพุ่งปล่อยแหลนออกไปในท่าที่ถูกต้องรู้จักจังหวะการวิ่ง การบังคับแหลนควรเรียนรู้ทำความเข้าใจ และฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
กรีฑาประเภทลานสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ประเภทละ 4 รายการ ดังนี้
ประเภทกระโดด (Jumping Events)
-
กระโดดสูง (High Jump)
-
กระโดดไกล (Long Jump)
-
เขย่งก้าวกระโดด (Triple Jump)
-
กระโดดค้ำ (Pole Vault)
ประเภทขว้าง (Throwing Events)
-
ทุ่มลูกน้ำหนัก (Putting The Shot)
-
ขว้างจักร (Discus)
-
พุ่งแหลน (Javelin)
-
ขว้างค้อน (Hammer)
3.กรีฑาประเภทเดิน (Walking Events)
กรีฑาประเภทเดินเป็นการแข่งขันที่ต้องใช้ทักษะการเดิน ซึ่งสามารถจัดการแข่งขันได้ทั้งภายในสนามและบนถนน ประกอบด้วยการแข่งขันเดินภายในสนาม ระยะทาง 10,000 เมตร และ 20,000 เมตร ส่วนการแข่งขันเดินบนถนน ระยะทาง 20 กิโลเมตร และ 50 กิโลเมตร
4.กรีฑาประเภทถนน (Road Races)
เป็นการแข่งขันวิ่งบนถนน เส้นเริ่มและเส้นชัยอาจอยู่ในสนามกรีฑาก็ได้ มีระยะทาง มาตรฐานในการจัดการแข่งขันสำหรับชายและหญิง ดังนี้
-
วิ่ง 15 กิโลเมตร
-
วิ่ง 20 กิโลเมตร
-
วิ่งครึ่งมาราธอน (Half Marathon) 25 กิโลเมตรและ 30 กิโลเมตร
-
วิ่งมาราธอน (Marathon) 195 กิโลเมตรและ 100 กิโลเมตร
นอกจากการแข่งขันประเภทลู่และลานแล้ว ยังมีการแข่งขันประเภทรวมชายและรวมหญิง ซึ่งผู้เล่นคนหนึ่งๆ ต้องแข่งขันทั้งประเภทลู่และลาน มีการแข่งขัน ดังต่อไปนี้
ทศกรีฑา เป็นการแข่งขันประเภทรวมชาย ประกอบด้วยการแข่งขัน 10 ประเภท ซึ่งต้องทำการแข่งขัน 2 วัน ติดต่อกันเรียงตามลำดับ ดังนี้
วันแรก
-
วิ่ง 100 เมตร
-
กระโดดไกล
-
ทุ่มลูกน้ำหนัก
-
กระโดดสูง
-
วิ่ง 400 เมตร
วันที่สอง
-
วิ่งข้ามรั้ว 110 เมตร
-
ขว้างจักร
-
กระโดดค้ำ
-
พุ่งแหลน
-
วิ่ง 1,500 เมตร
สัตตกรีฑา เป็นการแข่งขันประเภทรวมหญิง มีการแข่งขันทั้งหมด 7 ประเภท แข่งขัน 2 วัน ติดต่อกัน ตามลำดับดังนี้
วันแรก
-
วิ่งข้ามรั้ว 100 เมตร
-
กระโดดสูง
-
ทุ่มลูกน้ำหนัก
-
วิ่ง 200 เมตร
วันที่สอง
-
กระโดดไกล
-
พุ่งแหลน
-
วิ่ง 800 เมตร
-
กรีฑาประเภทวิ่งข้ามทุ่ง (Cross Country Races)
กรีฑาประเภทวิ่งข้ามทุ่ง เป็นการวิ่งที่มักจัดขึ้นในสวนสาธารณะขนาดใหญ่ หรือ นอกเมือง เส้นทางวิ่งจะเป็นสนามหญ้า เนินเขา ทางเดิน หรือทุ่งนาที่ไถแล้ว นักวิ่งอาจจะพบสิ่งกีดขวางต่างๆ ในธรรมชาติ ซึ่งในระดับนานาชาติมีการจัดการแข่งขัน ดังนี้
-
ประเภททีม แบ่งรายการแข่งขันเป็น ชาย ระยะทาง 12 กิโลเมตร เยาวชนชาย ระยะทาง 8 กิโลเมตร หญิง ระยะทาง 6 กิโลเมตร เยาวชนหญิง ระยะทาง 4 กิโลเมตร
-
การวิ่งขึ้นเขาเป็นส่วนใหญ่ ทั่วไปชาย ระยะทาง 12 กิโลเมตร ระดับความสูง 1,200 เมตร ทั่วไปหญิง ระยะทาง 7 กิโลเมตร ระดับความสูง 550 เมตร เยาวชนชาย ระยะทาง 7 กิโลเมตร ระดับความสูง 550 เมตร
-
ถ้าจุดปล่อยตัวและเส้นชัยอยู่ในระดับเดียวกัน ทั่วไปชาย ระยะทาง 12 กิโลเมตร ระดับความสูง 700 เมตร ทั่วไปหญิง ระยะทาง 7 กิโลเมตร ระดับความสูง 400 เมตร เยาวชนชาย ระยะทาง 7 กิโลเมตร ระดับความสูง 400 เมตร